.
นักวิจัยเข้าสู่ระบบ
ลงทะเบียนนักวิจัย
แอดมินเข้าสู่ระบบ
อาทิตย์ ที่ 1 ธันวาคม 2567
หน้าหลัก
งานวิจัย
บทความ/วารสาร
นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกสารดาวน์โหลด
สถิติ/รายงาน
รายงานข้อมูลประวัตินักวิจัย
รายงานข้อมูลผลงานวิจัย
รายงานข้อมูลจำนวนนักวิจัยแยกตามสาขาเชี่ยวชาญ
รายงานข้อมูลจำนวนนักวิจัยแยกตามหน่วยงานที่สังกัด
รายงานข้อมูลจำนวนนักวิจัยแยกตามประเภทนักวิจัย
คู่มือการใช้งาน
สำหรับนักวิจัย
สำหรับแอดมิน
สำหรับผู้บริหาร
1
ข้อมูล นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
ถอยกลับ
ชื่อนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ :
*
ครีมสมุนไพรที่มีส่วนผสมของสารสกัดในว่านมหากาฬและกระบวนการผลิต
ยุทธศาสตร์ :
*
สาขาของนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ :
*
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
หลักการและเหตุผล :
*
ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรมาอย่างยาวนานและสืบทอดความรู้ดังกล่าวผ่านทางภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างไรก็ตาม สมุนไพรเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการนำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภค (Daengprasert et al., 2012) ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย ไม่เพียงแต่เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานเท่านั้น หากยังเป็นการใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศให้เกิดประโยชน์ซึ่งนำไปสู่การพึ่งพาตนเองของคนในประเทศอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการผลักดันให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมสมุนไพรภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนต่อการเติบโตของเศรฐกิจประเทศ โรคผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศและทุกวัย และมีหลายชนิด ได้แก่ โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมีความผิดปกติที่เรียกว่า T-cell-mediated autoimmune disease ซึ่งกลไกการเกิดโรคนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเซลล์ชนิด T-cell ที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นก่อนปรากฏอาการของโรคและผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหากได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน (Chen et al., 2016 และ Johansen, 2016) นอกจากปัจจัยทางพันธุกรรมแล้วพบว่าความเครียดยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคได้อีกด้วย (Mastrolonardo et al., 2007) โดยจากสาเหตุดังกล่าวมีผลทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันกระตุ้นให้ผิวหนังกำพร้าเกิดการแบ่งตัวเร็วกว่าปกติจนทำให้เกิดเป็นแผลที่มีสะเก็ดสีขาวแบบเรื้อรังที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และจากสภาวะความเครียดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ปัจจุบันพบว่ามีประชากรที่ป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงินเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นจำนวนมาก โดยพบผู้ป่วยประมาณร้อยละ 2-5 ของประชากรทั่วไป (Raychaudhuri et al., 2014) เนื่องจากโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ทำให้แนวทางการรักษานั้นมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดและระดับความรุนแรงของโรค เช่น หากมีระดับความรุนแรงของโรคต่ำ จะมีการรักษาขั้นต้นด้วยการใช้ยาทา ได้แก่ ยาทา สเตียรอยด์ (steroid) น้ำมันดิน (coal tar) วิตามินดี (calcipotriene) วิตามินเอ (vitamin A) แอนทราลิน (anthralin) และกรดซาลิไซลิก (salicylic Acid) หากระดับความรุนแรงของโรคสูง จะมีการรักษาโดยการฉายแสง (phototherpy) ร่วมกับการรับประทานยาในกลุ่ม Methotrexate Retinoids และยากดภูมิคุ้มกันชนิด cyclosporine อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นจะให้ผลดีแต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง รวมทั้งการรักษาด้วยยาทาและยารับประมาณมักก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน ไขมันในเลือดสูง ไตและตับอักเสบ กระดูกงอก และมีผลต่อทารกในครรภ์ (Mendonc and Burden, 2003 และ Herman and Herman, 2016) ดังนั้นปัจจุบันจึงได้มีความพยายามพัฒนาการรักษาด้วยทางเลือกอื่น เช่น การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีสารสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านการเกิดโรค โดยนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งในรูปยาทาและยารับประทาน ว่านมหากาฬ (G. pseudochina (L.) DC.) เป็นพืชท้องถิ่นที่พบได้ในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา (Vanijajiva, 2009) มีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบและรักษาโรคติดเชื้อไวรัส (Siriwatanametanon et al., 2010) จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสารทั้ง 4 ชนิด ประกอบด้วย quercetin 3-rutinoside 3,5-di-caffeoylquinic acid 4,5 di-caffeoylquinic acid และ 5-mono caffeoylquinic acid จากสารสกัด G. pseudochina var. hispida มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ nuclear transcription factor B (NF-?B) ซึ่งนำไปสู่การยับยั้งการสร้างโปรตีนในกระบวนการอักเสบได้ (Siriwatanametanon and Heinrich, 2011) อีกทั้งจากงานวิจัยล่าสุดพบว่า สารสกัดจากใบว่านมหากาฬ (G. pseudochina (L.) DC.) มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ NF-?B ชนิด RelB ซึ่งมีผลทำให้กระบวนการสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบผ่าน RelB-canonical pathway ลดลงอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากใบว่านมหากาฬมีพิษต่อเซลล์ผิวหนังต่ำและมีสารกลุ่ม pyrrolizidine alkaloids ซึ่งเป็นพิษต่อตับผสมอยู่ในสารสกัดในปริมาณที่ต่ำ ทำให้มีความปลอดภัยต่อการนำไปใช้เพื่อช่วยรักษาอาการผิวหนังอักเสบ อีกทั้งครีมต้นแบบที่ผสมสารสกัดใบว่านมหากาฬที่ปริมาณ 0.5% ยังมีความคงตัวทางกายภาพ สี ค่าพีเอช และปริมาณสารสำคัญชนิด chlorogenic acid, p-coumaric acid, caffeic acid และ rutin ซึ่งเป็นองค์ประกอบในสารสกัดใบว่านมหากาฬนั้นมีความคงตัวในครีมเป็นเวลา 1 ปี(Sukadeetad et al., 2018) ดังนั้นในการประดิษฐ์ครั้งนี้ได้พัฒนาครีมสมุนไพรที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบว่านมหากาฬเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับใช้บรรเทาอาการของโรคผิวหนังอักเสบชนิดสะเก็ดเงิน
ประเภทความรับผิดชอบ :
*
ผู้ร่วมโครงการ
ผู้ร่วมโครงการอื่นๆ (ถ้ามี) :
ระบุผู้ร่วมโครงการภายใน
ระบุผู้ร่วมโครงการภายนอก
ที่มาแหล่งทุน :
*
แหล่งทุนภายนอก :
*
สวก.
ระบุแหล่งทุนภายนอกอื่นๆ :
แหล่งทุนภายใน :
จำนวนงบประมาณ :
*
600000
ปีที่ได้รับทุน :
*
2560
ปีที่เสร็จสิ้น :
ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ :
เลขที่ คำขอ/สิทธิบัตร :
22080
เว็บไซต์ตรวจสอบสิทธิบัตร :
https://search.ipthailand.go.th/index2?q=JTdCJTIycSUyMiUzQSUyMiVFMCVCOCU4NCVFMCVCOCVBMyVFMCVCOCVCNSVFMCVCOCVBMSVFMCVCOCVBQSVFMCVCOCVBMSVFMCVCOCVCOCVFMCVCOCU5OSVFMCVCOSU4NCVFMCVCOCU5RSVFMCVCOCVBMyUyMCVFMCVCOCVBNyVFMCVCOSU4OCVFMCVCOCVCMiVFMCVCOCU5OSVFMCVCOCVBMSVFMCVCOCVBQiVFMCVCOCVCMiVFMCVCOCU4MSVFMCVCOCVCMiVFMCVCOCVBQyUyMiUyQyUyMmluZGV4JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTJDJTIyZGlzcGxheSUyMiUzQSUyMmRpcF9zZWFyY2hfMV9lcHRfMyUyMiUyQyUyMmluZGV4X2NyZWF0ZSUyMiUzQSUyMmRpcF9zZWFyY2hfMV9lcHRfMyUyMiUyQyUyMmluJTIyJTNBMSUyQyUyMm9yZGVyJTIyJTNBJTIyX3Njb3JlJTJDZGVzYyUyMiUyQyUyMnR5cGUlMjIlM0ElMjJzZWFyY2hfYWxsJTIyJTJDJTIydHlwZV9uYW1lJTIyJTNBJTIyJUUwJUI4JTk3JUUwJUI4JUIxJUUwJUI5JTg5JUUwJUI4JTg3JUUwJUI4JUFCJUUwJUI4JUExJUUwJUI4JTk0JTIyJTJDJTIydGFiX2luZGV4JTIyJTNBJTIyZGlwX3NlYXJjaF8xX2VwdF8zJTIyJTdE
ไฟล์ fullpaper PDF:
ไฟล์ ภาพนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์:
นักวิจัยเข้าสู่ระบบ
×
Login
ลงทะเบียนนักวิจัย
×
* ระบุสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ)
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
สาขาปรัชญา
สาขานิติศาสตร์
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
สาขาเศรษฐศาสตร์
สาขาสังคมวิทยา
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
สาขาการศึกษา
ดนตรีวิทยา
มานุษยดุริยางควิทยา
ดนตรีศึกษา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร ์
การจัดการการบิน
บริหารธุรกิจ
เทคโนโลยีอาหาร/โภชณาการอาหาร
การโรงแรม
วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
พยาบาลศาสตร์
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การท่องเที่ยว
ท่องเทียว - ชุมชนผูัสูงอายุ
วิศวกรรมศาสตร์ - พลังงาน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย - ช่างยนต์
ลงทะเบียน
แอดมินเข้าสู่ระบบ
×
Login
ลงทะเบียนนักวิจัย Test
×
* ระบุสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ (เลือกได้มากกว่า 1 รายการ)
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
สาขาปรัชญา
สาขานิติศาสตร์
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
สาขาเศรษฐศาสตร์
สาขาสังคมวิทยา
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
สาขาการศึกษา
ดนตรีวิทยา
มานุษยดุริยางควิทยา
ดนตรีศึกษา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร ์
การจัดการการบิน
บริหารธุรกิจ
เทคโนโลยีอาหาร/โภชณาการอาหาร
การโรงแรม
วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
พยาบาลศาสตร์
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การท่องเที่ยว
ท่องเทียว - ชุมชนผูัสูงอายุ
วิศวกรรมศาสตร์ - พลังงาน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย - ช่างยนต์
ลงทะเบียน